TH
TH EN
x

Molnupiravir ยาเม็ดต้านโควิด 19 ความหวังหยุดโรคระบาด



ทั่วโลกกำลังจับตามอง ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) ยาเม็ดที่อาจจะมารักษาผู้ป่วยโควิด โดยทำให้เจ้าตัวไวรัสในร่างกายกลายพันธุ์จนกลายเป็นเชื้อตาย วันนี้เราไปทำความรู้จัก ยาโมลนูพิราเวียร์กันดีกว่า


---------สรุปจบ ตอบครบที่นี่เลย---------- 

ยาโมลนูพิราเวียร์ คืออะไร? มาจากไหน? 

ประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของยาโมลนูพิราเวียร์

ความแตกต่างระหว่าง ยาโมลนูพิราเวียร์ กับ วัคซีน 

แล้วยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) จะเข้าประเทศไทยเมื่อไหร่? 

ที่มาของข้อมูล  : chulalongkornhospital.go.th , bangkokbiznews.com


ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) คืออะไร? มาจากไหน?




ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) คืออะไร


Molnupiravir (โมลนูพิราเวียร์) หรือ MK-4482 เป็นยาเม็ดต้านไวรัสชนิดรับประทาน พัฒนาขึ้นเพื่อรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ ทำงานโดยการทำสำเนาสารพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาแบบมีข้อบกพร่อง เท่ากับ ยับยั้งการจำลองตัวเองของเชื้อเมื่อเข้าสู่เซลล์ ไม่ให้เพิ่มจำนวนไปมากกว่านี้ จากการศึกษาพบว่ามีฤทธิ์ต่อต้านไวรัสหลายชนิด เช่น ซาร์ เมอร์ส และโควิด 19 

ปัจจุบัน โมลนูพิราเวียร์ ยังอยู่ในสถานะทดลองระหว่างการวิจัยทางคลินิกในมนุษย์ระยะที่ 3 และอยู่ระหว่างการพิจารณาให้การรับรองขององค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration) หลังจากนี้ หากผลการศึกษาพบว่ายามีประสิทธิภาพในการลดความรุนแรงของโรค และลดโอกาสในการเสียชีวิตมีโอกาสได้รับการรับรองให้ใช้เป็นยาฉุกเฉินสำหรับการรักษาโรคโควิด19 

คิดค้นขึ้นโดย Drug Innovations ที่ Emory (DRIVE), LLC ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพที่ไม่แสวงหาผลกำไรของมหาวิทยาลัย Emory เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับการพัฒนาโดย Merck & Co ซึ่งร่วมมือกับ Ridgeback Biootherapeutics


ผลการทดลองและประสิทธิภาพ




Merck & Co กล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ที่ผ่านมาว่า การวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างทางก่อนที่จะสิ้นสุดการศึกษา (Interim Analysis) ของการศึกษาระยะที่ 3 พบว่า โมลนูพิราเวียร์ ช่วยลดความเสี่ยงของการรักษาในโรงพยาบาลได้ประมาณ 50% 

ผู้ป่วย 385 รายที่ได้ยานี้ซึ่งมีขนาดเม็ดละ 200 มิลลิกรัม โดยให้ครั้งละ 4 เม็ด (800 มิลลิกรัม) เช้า-เย็น รวมวันละ 1,600 มิลลิกรัม เป็นเวลา 5 วัน รวมทั้งสิ้น 40 เม็ด พบว่า 28 ราย หรือ 7.3% เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เทียบกับ 53 ราย ใน 377 ราย (14.1%) ที่ได้รับยาหลอก และตลอดวัน 29 วันที่ทำการรักษา ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตในผู้ป่วยที่ได้รับยานี้ แต่มีผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอกเสียชีวิต 8 ราย นั่นหมายความว่าโมลนูพิราเวียร์ช่วยลดความเสี่ยงในการนอนโรงพยาบาลและลดการเสียชีวิตได้ถึงครึ่งหนึ่ง

ทั้งนี้ ต้องให้ยาโมลนูพิราเวียร์ในระยะเวลาที่รวดเร็ว (ภายใน 5 วัน) นับตั้งแต่เริ่มมีอาการสำหรับผู้ที่มีอาการป่วยเล็กน้อยถึงปานกลาง โดยรับประทานทุกๆ 12 ชั่วโมง และตามหลักแล้วควรให้ยาชนิดนี้กับผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีโรคประจำตัวอย่างใดอย่างหนึ่งร่วมด้วย ได้แก่ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ภาวะอ้วนและผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี หากอาการหนักแล้ว ยานี้จะใช้ไม่ได้ผล

** อย่างไรก็ตาม การศึกษามีขนาดค่อนข้างเล็ก และจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม เพื่อกำหนดความปลอดภัยอย่างเหมาะสม และการศึกษานี้ยังไม่ครอบคลุมถึงกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และเด็ก


ความแตกต่างระหว่าง โมลนูพิราเวียร์ กับ วัคซีน 




โมลนูพิราเวียร์ เป็น ยารักษา ต่อสู้กับไวรัส

วัคซีน เป็น ยาป้องกันการติดเชื้อไวรัส

โมลนูพิราเวียร์ เป็น ยาต้านไวรัส (antivirals) เป็นยาที่ให้ผู้ป่วยที่ติดเชื้อแล้ว ใช้เพื่อรักษาโรค ไม่ใช่ป้องกันโรค จะออกฤทธิ์ดังนี้

- ขัดขวางการเจริญและการเพิ่มจำนวนของไวรัส

- ขัดขวางไม่ให้ไวรัสเข้าสู่ภายในเซลล์โฮสต์ เช่น เซลล์ที่ทางเดินหายใจของคน (การเจริญและการเพิ่มจำนวนของไวรัสเกิดขึ้นภายในเซลล์โฮสต์) 

- สร้างสารพันธุกรรมชนิดกลายพันธุ์ทำให้ไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ 

วัคซีน เป็น การป้องกันสำหรับคนที่ยังไม่ติดเชื้อ ออกฤทธิ์กระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัส จึงเป็นการป้องกันไม่ให้เป็นโรค ซึ่งวัคซีนโควิดในขณะนี้ทำได้แค่ ป้องกันไม่ให้เสียชีวิต และมีอาการรุนแรง

ด้วยเหตุนี้ยาต้านไวรัสจึงไม่อาจใช้ทดแทนการให้วัคซีน จำง่ายๆ “โมลนูพิราเวียร์ใช้รักษา วัคซีนใช้ป้องกัน” ถ้ายังสบายดี ให้รีบฉีดวัคซีน ส่วนโมลนูพิราเวียร์หรือฟาวิพิราเวียร์ เป็นยาที่ใช้เพื่อรักษาเมื่อติดเชื้อแล้วไม่ใช่เชื้อแพร่ระบาดลุกลาม ไม่สามารถใช้โมลนูพิราเวียร์เป็นการป้องกันการติดเชื้อโควิดได้ 


ยาโมลนูพิราเวียร์ จะเข้าไทยเมื่อไหร่?




รัฐบาลไทยที่ได้ทำร่างสัญญาซื้อขายเสร็จไปตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม ที่ผ่านมา ในจำนวนและราคาที่ยังไม่อาจเปิดเผยได้เพราะเป็นความลับทางการค้าของบริษัทฯ โดยตามกระบวนการแล้วจะต้องมาขึ้นทะเบียนกับองค์การอาหารและยา (อย.) ของไทย ซึ่งกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขคาดว่า น่าจะขึ้นทะเบียนได้ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 และไทยจะได้รับยาโมลนูพิราเวียร์ประมาณเดือนธันวาคม 2564 - มกราคม 2565


โมลนูจะมาไม่มา ปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่า กับฟินชัวรันส์




โมลนูพิราเวียร์ กำลังรอการอนุมัติรับรองจาก FDA องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกาที่ไม่รู้ว่าจะเสร็จเมื่อไหร่ เราก็ต้องไม่ประมาท การ์ดไม่ตก ใส่แมสก์ ฉีดวัคซีน ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง ช่วงเวลานี้ สุขภาพเป็นเรื่องไม่แน่นอน อยากให้ทุกคนเอาเวลากังวล ไปฟินกับชีวิต หมดห่วงเรื่องสุขภาพหรือโควิด เลือกประกันสุขภาพเหมาจ่ายฟินชัวรันส์ 

“ฟินชัวรันส์” ประกันชีวิต+ประกันสุขภาพเหมาจ่ายจาก คิง ไวประกันชีวิต ที่คุ้มครองตั้งแต่เจ็บป่วยทั่วไป อุบัติเหตุ โรคร้าย โควิดทุกสายพันธุ์รวมถึงการแพ้วัคซีนโควิด ค่าดูแลรักษาเหมาจ่ายสูงสุดถึง 10 ล้านบาทต่อปี รวมค่าห้องสูงสุด 9,000 บาทต่อวัน แถมคุ้มครองกรณีเป็นผู้ป่วยนอก OPD จ่ายสูงสุด 50,000 ต่อปี ไม่ต้องซื้อแยก คุ้มครองหมด และ คุ้มสุดๆ

สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ คิง ไว ประกันชีวิต ได้ที่ : https://www.kwilife.com/health

**โปรดศึกษาเงื่อนไขและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจซื้อกรมธรรม์

KWI Life ใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดี หากคุณยังคงใช้งานบนเว็บไซต์ เราถือว่าคุณยอมรับ ข้อกำหนดและเงื่อนไข ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่