"กรดไหลย้อน" แม้ไม่ได้เป็นโรคที่แปลกใหม่ของคนไทย แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงและน่ากังวล จำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มีมากขึ้นเรื่อยๆ และหลายคนมักปล่อยให้เป็นเรื้อรังไม่รักษา อาจทำให้เสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งหลอดอาหารได้ แต่ก็มีอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ เมื่อเป็นโรคกรดไหลย้อนแล้ว หากปล่อยไว้จะกลายเป็นโรคมะเร็งได้จริงหรือ? ลองมาหาคำตอบไปพร้อมๆ กันได้เลย
ที่มาของข้อมูล: sikarin.com, health.mthai.com
-ความผิดปกติของหูรูดส่วนปลายหลอดอาหาร ทำหน้าที่ป้องกันกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหารมีความดันของหูรูดต่ำหรือเปิดบ่อยกว่าคนปกติ อาจเกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ และยาบางชนิด
-ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหาร ทำให้อาหารที่รับประทานลงช้าหรืออาหารที่ไหลย้อนขึ้นมาจากกระเพาะอาหารค้างอยู่ในหลอดอาหารนานกว่าปกติ
-ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารค้างอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ ทำให้เพิ่มโอกาสการไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหารสู่หลอดอาหารมากขึ้น อาหารประเภทไขมันสูงและช็อกโกแลตจะทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวลดลง
-พฤติกรรมในการดำเนินชีวิต เช่น เข้านอนทันทีหลังรับประทานอาหาร รับประทานอาหารปริมาณมากในหนึ่งมื้อ สูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลมหรือแอลกอฮอล์ ความเครียด
-โรคอ้วน ทำให้เพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหารและทำให้กรดไหลย้อนกลับ
-การตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ทำให้หูรูดหลอดอาหารอ่อนแอลง รวมถึงมดลูกที่ขยายตัวจะเพิ่มแรงกดต่อกระเพาะอาหาร
อาการต่างๆ เหล่านี้ ถือเป็นสัญญาณเตือนของโรคกรดไหลย้อน หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ แสดงว่าคุณกำลังเผชิญกับโรคกรดไหย้อนอยู่ ลองเช็คอาการของคุณว่าเป็นโรคกรดไหลย้อนหรือมะเร็งหลอดอาหาร
กรดไหลย้อน
-แสบร้อนบริเวณหน้าอก จะเป็นมากหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก
-มีอาการเรอเปรี้ยว มีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก
-ท้องอืด แน่นท้อง คล้ายอาหารไม่ย่อย
-คลื่นไส้ อาเจียน หลังรับประทานอาหาร
-เจ็บหน้าอก จุก คล้ายเหมือนมีก้อนติดอยู่ในลำคอ
-หืดหอบ ไอแห้งๆ เสียงแหบ
-เจ็บคอเรื้อรัง
มะเร็งหลอดอาหาร
-กลืนอาหารลำบาก โดยเฉพาะเมื่อรับประทานอาหารแข็ง
-สำลักหลังกลืนอาหาร รู้สึกเหมือนมีอาหารอยู่ที่คอ
-แน่นหน้าอก หรือแสบร้อนในช่องอก
-ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
-เสียงแหบ ไอเรื้อรัง
-น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
-เจ็บกระดูกหน้าอก หรือลำคอ
เมื่อเป็นกรดไหลย้อน จะทำให้เกิดการอักเสบบริเวณหลอดอาหารและกล่องเสียง หากปล่อยให้อักเสบเรื้อรังไปนานๆ ก็จะทำให้เซลล์บริเวณเยื้อบุผิวมีการเปลี่ยนแปลง และกลายไปเป็นเซลล์มะเร็งได้ในที่สุด แต่ก็ยังถือว่ามีโอกาสไม่มาก เพียง 1-6% เท่านั้น
-เปลี่ยนนิสัยส่วนตัว หลีกเลี่ยงภาวะความเครียด งดสูบบุหรี่ ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดแน่นเกินไป และหากน้ำหนักเพิ่มขึ้นมากๆ ก็ควรลดน้ำหนัก ตลอดจนหลีกเลี่ยงการเบ่งเมื่อมีอาการท้องผูก เลือกกินอาหารที่ช่วยเรื่องระบบขับถ่ายแทน
-เปลี่ยนนิสัยในการทานอาหาร โดยการเลือกทานอาหารที่มีไขมันต่ำ งดอาหารทอด อาหารมัน อาหารย่อยยาก หรืออาหารที่มีรสจัด หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกช็อกโกแลต ถั่ว ลูกอม เนย นม ไข่ ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลังและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และทานแค่พอดี ไม่อิ่มจนแน่นท้องเกินไป
-เปลี่ยนนิสัยการนอน หลังการรับประทานอาหารไม่ควรเข้านอนในทันที แต่ควรเว้นระยะห่างอย่างน้อย 3 ชั่วโมง และเวลานอน ควรหนุนหัวเตียงให้สูงขึ้นประมาณ 6-10 นิ้วจากพื้นราบ
ทั้งนี้หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือทานยาลดกรดควบคู่กันแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจวัดกรดในหลอดอาหาร 24 ชั่วโมง เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง อาจจำเป็นต้องส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนบน เพื่อดูว่ามีโรคอื่นซ่อนอยู่หรือไม่ ทางที่ดีถ้าเป็นเรื้อรังบ่อยๆ ก็ควรมาพบแพทย์เพื่อความสบายใจ
ปรับรูปแบบการใช้ชีวิต หมั่นดูแลตัวเอง ทำงานให้เหมาะสม แบ่งเวลาออกกำลังกาย ใส่ใจสุขภาพ และเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ไม่มีอะไรสำคัญไปกว่าสุขภาพ หากดูแลสุขภาพอย่างดีแล้วยังมีอาการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ แนะนำให้ทำประกันสุขภาพไว้เพื่อคุ้มครองเมื่อยามเจ็บไข้ได้ป่วยเพื่อให้ได้รับการดูแลอย่างดีที่สุดจากโรงพยาบาลโดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย
สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟินชัวรันส์ ได้ที่ : https://www.kwilife.com/health
**โปรดศึกษาเงื่อนไขและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจซื้อกรมธรรม์