7 ขั้นตอน วางแผนภาษี สำหรับมนุษย์เงินเดือน


7 ขั้นตอน วางแผนภาษี สำหรับมนุษย์เงินเดือน

1.คำนวณหาเงินได้พึงประเมินทั้งปี

เงินได้พึงประเมิน คือ เงินเดือนหรือรายได้ทั้งปี โดยรายได้รวมทั้งปีของมนุษย์เงินเดือน ประกอบด้วยรายได้หลัก 4 ประเภท คือ

1.1. เงินเดือนประจำ (รวมทั้งปี)

1.2. เงินโบนัส

1.3. ค่าล่วงเวลาหรือ OT (ถ้ามี)

1.4. เงินพิเศษอื่นๆ เช่น ภาษีที่นายจ้างออกให้ หรือมีที่พักฟรี


2. ผู้มีเงินได้พึงประเมินรวมทั้งปีไม่เกิน 310,000 บาทต่อปี ไม่ต้องเสียภาษี

มนุษย์เงินเดือนที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ “ผู้มีเงินได้พึงประเมินรวมทั้งปี เกินกว่า 310,000 บาทต่อปี”

การคำนวณเงินได้สุทธิ สรุปได้ดังนี้

รายการที่ 1 : ผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (1) หักค่าใช้จ่ายได้ 50% สูงสุด 100,000 บาท

รายการที่ 2 : ผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (1) หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท

รายการที่ 3 : ยกเว้นภาษี ผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (1) เงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก


3.หาค่าลดหย่อนให้มากที่สุด

โดยตัวอย่างค่าลดหย่อน มีดังนี้

3.1. ค่าลดหย่อนเงินสมทบประกันสังคม

3.2. ค่าลดหย่อนกรณีสมรส

3.3. ค่าลดหย่อนบุตร

3.4. ค่าฝากครรภ์และทำคลอด

3.5. เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง

3.6. มีบิดามาดราที่ต้องอุปการะเลี้ยงดู

3.7. มีภาระที่ต้องเลี้ยงดูผู้พิการ

3.8. มีค่าเบี้ยประกันสุขภาพของบิดามาดรา


4.วางแผนการออมและการลงทุนเพื่อการลดหย่อนภาษี

โดยมีทั้งหมด 5 เรื่องดังนี้

4.1. เรื่องการซื้อประกันชีวิต

4.2. เรื่องดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย

4.3. เรื่องการซื้อกองทุนเพื่อการออม SSF

4.4. เรื่องการซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF

4.5. เรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ


5.ศึกษาสิทธิหักค่าลดหย่อนภาษีกรณีพิเศษจากภาครัฐ

การลดหย่อนกรณีพิเศษมักมีโอกาสเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ซึ่งหากมีเหตุการณ์สำคัญต่างๆเกิดขึ้น กรมสรรพากรจะเข้ามาจัดรายการพิเศษ เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน โดยการลดหย่อนภาษีให้หรือขยายระยะเวลาการยื่นแบบภาษี มักมีเงื่อนไขที่จะต้องศึกษาเพิ่มเติมและมีการกำหนดระยะเวลาในการลดหย่อนภาษี เช่น 1-2 ปี เป็นต้น


6.ลดหย่อนด้วยเงินบริจาคกรณีต่างๆ

การทำบุญนอกจากจะได้บุญกุศลแล้ว ใบอนุโมทนาหรือใบเสร็จเงินบริจาค ยังสามารถนำมาช่วยให้ผู้มีเงินได้จ่ายภาษีน้อยลงอีกด้วย

โดยกรมสรรพากรได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริจาคต่างๆ ไว้ชัดเจน และมีการกำหนดเพดานสูงสุดในการบริจาค หากบริจาคเกินกว่าเพดานที่สรรพากรกำหนด ส่วนเกินนั้นไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งจะต้องศึกษาเงื่อนไขรายละเอียดให้ดี


7.นำเงินได้สุทธิมาประเมิน เพื่อเสียภาษีตามตารางภาษีของกรมสรรพากร

สูตรในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อนและการบริจาค

หลังจากคำนวณ เงินได้สุทธิแล้ว ให้นำ เงินได้สุทธิมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเทียบจากตารางภาษีที่กรมสรรพากรกำหนด

จากนั้น ให้นำ : เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย

KWI Life use cookies to ensure that we give you the best experience on our website. By using our website you agree to our use of cookies in accordance with our privacy policy. Read more