ในปัจจุบันนี้เราคงได้เห็นจากข่าวกันมากขึ้นว่าเด็กๆอายุน้อย ได้ติดเชื้อโควิด 19 กันจำนวนมาก ซึ่งแตกต่างกับการแพร่ระบาดในช่วงแรกๆของโรค ที่ไม่ค่อยพบผู้ติดเชื้อที่เป็นเด็กมากนัก ตลอด 1 ปีที่ผ่านมา พบเด็กที่ติดเชื้อประมาณร้อยละ 13% ของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด วันนี้เราจึงได้นำข้อมูลเกี่ยวกับโควิดในเด็กมานำเสนอเพื่อให้ผู้ปกครองได้มีการระมัดระวังมากยิ่งขึ้น
ที่มาของข้อมูล : prachachat.net, sikarin.com, news.thaipbs.or.th
สำหรับในประเทศไทยนั้น มีผู้ป่วยจำนวนน้อยมากที่เป็นเด็ก ซึ่งพบเด็กอายุน้อยสุดที่เป็นผู้ติดเชื้อโควิด 19 คืออายุ 1 เดือน ข้อมูลล่าสุดพบว่าในจำนวนผู้ป่วยโควิด 19 ทั้งหมด มีเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี เพียงแค่ 2.5% และในเด็กอายุ 11-20 ปี 5.7%
ส่วนใหญ่จะมีอาการไม่รุนแรง หรือไม่มีการอะไรเลย พบได้น้อยมากกรณีที่เกิดการติดเชื้อแล้วมีอาการรุนแรงจนต้องเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อโควิด 19 ในเด็กนั้นมีแนวโน้มที่จะเกิดอาการรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อนได้ หากเด็กที่ป่วยมีภาวะโรคอ้วน, โรคเบาหวาน, โรคหอบหืด, โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
สำหรับในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปี หากได้รับเชื้อโควิด 19 จะมีอาการมากกว่าเด็กที่โตแล้ว เนื่องจากระบบของภูมิคุ้มกันในร่างกายยังมีการพัฒนาได้ไม่ดีพอ รวมถึงช่องทางเดินหายใจยังมีขนาดเล็ก
ถึงแม้ว่าเด็กที่ติดเชื้อโควิด 19 จะมีอาการที่ไม่รุนแรงหรือแทบไม่มีอาการอะไรเลย แต่เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ ได้มีการศึกษาและพบว่าปริมาณไวรัสที่ตรวจพบได้จากโพรงจมูกของเด็กกับผู้ใหญ่อาจไม่ต่างกันเลย อีกทั้งความเสี่ยงในการรับเชื้อ แพร่เชื้อเองก็ไม่ต่างกับผู้ใหญ่เช่นเดียวกัน
อาการโดยหลักที่พบได้ คือ อาการหวัด, ปอดอักเสบ, จมูกไม่ได้กลิ่น มีอาการถ่ายเหลว เหมือนกับผู้ใหญ่ ถึงแม้ในประเทศไทยนั้นยังไม่ได้มีการตรวจพบผู้ป่วยที่เป็นเด็กและมีอาการรุนแรง แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญได้ออกมาให้คำแนะนำว่า เด็กที่อายุยังน้อย โดยเฉพาะเด็กทารกที่อายุน้อยกว่า 1 ปี หรือเด็กที่มีโรคประจำตัว อาจเป็นกลุ่มเสี่ยงที่สามารถมีอาการรุนแรงได้
ส่วนมากของเด็กที่ได้รับเชื้อโควิด 19 นั้นมาจากการอยู่ใกล้ชิดกับสมาชิกในครอบครัวที่เป็นผู้ใหญ่และได้รับเชื้อโควิด 19 มาจากภายนอกโดยที่ไม่รู้ตัวนั่นเอง
พฤติกรรมที่ทำให้ได้รับเชื้อมากที่สุดคือการสัมผัส ยกตัวอย่างเช่น เมื่อบุคคลเกิดการไอ จาม แล้วมีการแพร่กระจายสารคัดหลั่งที่ไม่ว่าจะเป็น เสมหะ, น้ำมูก, น้ำลาย ไปติดอยู่ตามวัตถุ ไม่ว่าจะเป็น โต๊ะ, ภาชนะ หรือพื้น แล้วเด็กไปหยิบจับวัตถุนั้นๆ หรืออีกในกรณีคือ การที่ผู้ใหญ่เกิดการ ไอ, จาม หรือพูดคุยในระยะใกล้ โดยที่เด็กและผู้ใหญ่นั้นไม่มีการสวมหน้ากากอนามัยป้องกัน เด็กก็มีโอกาสที่จะได้รับเชื้อที่เป็นละอองฝอยนั้นไปได้
เพราะฉะนั้น ผู้ใหญ่จึงควรระมัดระวังตัวเองเป็นอย่างมากเมื่อจะเข้าใกล้หรือสัมผัสกับเด็ก เพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่าตัวเองนั้นจะเป็นคนที่แพร่เชื้อให้กับเด็กได้หรือไม่ และเพื่อสุขอนามัยที่ดีตามหลัก ควรใส่หน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันรวมถึงล้างมือให้สะอาดอย่างสม่ำเสมอ
ถึงแม้ว่าการป้องกันจะสำคัญ แต่ถ้าหากมีตัวช่วยในการคุ้มครองที่จะทำให้ผู้ปกครองเกิดความอุ่นใจได้เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ก็จะยิ่งดีขึ้นไปอีก เลือกประกัน Max Kids ให้กับลูกน้อยที่คุณรัก ด้วยความคุ้มครองทางด้านสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุบัติเหตุหรือโรคร้ายอย่างโควิด 19 ด้วยระยะออมสั้นเพียง 8 ปี แต่คุ้มครองชีวิตยาวนานถึง 18 ปี พร้อมเงินคืนต่อเนื่องทุกปีรวมสูงสุดกว่า 180%
สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.kwilife.com/ประกันสุขภาพ-max-kids
**โปรดศึกษาเงื่อนไขและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจซื้อกรมธรรม์