ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ยังไม่หมดไป คุณพ่อคุณแม่หลายคนเริ่มกังวลใจอีกครั้งกับฝุ่น PM 2.5 ความรุนแรงของฝุ่น PM 2.5 อันตรายอย่างมาก โดยเฉพาะเด็ก ๆ ที่ระบบร่างกายไม่สามารถป้องกันฝุ่นได้เท่ากับผู้ใหญ่ วันนี้เราได้นำข้อมูลเกี่ยวกับฝุ่นสามารถทำลายร่างกายของเด็กได้อย่างไรบ้าง
ที่มาของข้อมูล : synphaet.co.th , rakluke.com
#KWILife #KWIประกันชีวิต #เคดับบลิวไอประกันชีวิต #ประกันชีวิต #ประกันชีวิตแบบออมทรัพย์
ฝุ่น PM 2.5 สามารถดูดซับสารพิษอื่น เช่น โลหะหนัก สารก่อมะเร็งได้ด้วย หากไม่ได้ป้องกันตัวเองให้ดีก็สามารถเกิดผลกระทบต่อสุขภาพได้ เด็กเล็กหรือเด็กที่มีโรคประจำตัวหรือมีปัญหาภูมิคุ้มกัน การหายใจเอาฝุ่นละออง มลภาวะจำนวนมากเข้าไปส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ดังนี้
- ระยะสั้น ทำให้เกิดอาการหายใจลำบาก แสบจมูก ไอมีเสมหะ แน่นหน้าอก เกิดอาการกำเริบของโรคทางเดินหายใจ เช่น ภูมิแพ้ หอบหืด ผื่นแพ้ เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจได้ง่ายขึ้น เช่น ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ หูอักเสบ
- ระยะยาว ส่งผลต่อภูมิคุ้มกันร่างกาย โรคทางเดินหายใจ โรคหลอดเลือดสมองหรือหัวใจ
จมูก : จะทำให้เด็กแสบจมูกเวลาหายใจ มีน้ำมูกไหล หายใจลำบาก ไอ และรู้สึกเจ็บคอ
ผิวหนัง : เด็กยังมีภูมิต้านทานน้อย หากฝุ่น PM 2.5 สัมผัสกับผิวหนังแล้ว ทำให้การทำงานของเซลล์ผิวหนังผิดปกติ อาจเกิดอาการผื่นคันได้
ตา : ทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา ตาแดง แสบตา ตาไม่สามารถสู้แสงแดดได้ อาจทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับดวงตา เช่น ตาแดง ต้อเนื้อ ต้อลม และตากุ้งยิง
สมอง : เมื่อสมองมีการสะสมของฝุ่น PM 2.5 ในปริมาณมาก จะทำเด็กมีผิดปกติทางด้านพัฒนาการทางสติปัญญา พัฒนาการเด็กช้าลง มีปัญหาการได้ยิน การพูด และยังทำให้เกิดภาวะสมาธิสั้น และภาวะออทิซึม
ปอด : หากสะสมอยู่ในภายในร่างกายไปนานๆ จะเกิดเป็นโรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดอักเสบ โรคหอบหืด โรคมะเร็งระบบทางเดินหายใจ
หัวใจ : สูดฝุ่น PM 2.5 เป็นระยะเวลายาวนาน เวลาหายใจเข้าไปแล้วฝุ่นเดินทางเข้าสู่หลอดเลือด จะไปกระตุ้นให้เกิดการอักเสบในหลอดเลือด และนำไปสู่อาการหลอดเลือดหัวใจตีบในที่สุด
หลอดเลือด : ฝุ่นละอองเล็กๆ ในหลอดเลือด ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดอักเสบ และภาวะหลอดเลือดหดตัวได้
- ส่งผลให้มีความผิดปกติด้านสติปัญญาและพัฒนาการ ทำให้ลูกมีพัฒนาการช้าลง มีปัญหาด้านการพูดและฟัง มีภาวะสมาธิสั้น และมีภาวะออทิซึม
- ส่งผลต่อการนอนหลับพักผ่อน บ่อยครั้งที่อาการไอ จาม หอบเหนื่อย รบกวนการนอนหลับของลูก ทำให้เด็ก ๆ พักผ่อนไม่เพียงพอหรือไม่มีประสิทธิภาพ
- สร้างความเครียด เป็นเด็กก็เครียดได้ เพราะเมื่อร่างกายเจ็บป่วย จิตใจก็ย่อมป่วยตามไปด้วย ความกังวลเกี่ยวกับโรค ก็ทำให้เด็กเกิดภาวะความเครียดได้เช่นกัน
- ส่งผลต่อเรื่องการกิน เด็กที่มีอาการทางเดินหายใจ มักไม่ค่อยอยากรับประทานอาหาร ทำให้มีโอกาสได้รับสารอาหารไม่พอต่อความต้องการ
- หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมนอกบ้าน และไม่เข้าไปในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงเกินกว่าระดับมาตรฐาน
- ขณะอยู่ในบ้านควรปิดประตูหน้าต่างให้สนิท และเปิดเครื่องฟอกอากาศที่มีแผ่นกรองแบบ HEPA จะช่วยลดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ลงได้
- หากจำเป็นต้องออกจากบ้านในวันที่ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน ต้องสวมหน้ากากชนิด N95 (สำหรับเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป ส่วนทารกหรือเด็กเล็กไม่แนะนำให้เดินทางออกนอกบ้าน)
- ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือเป็นประจำ จะช่วยให้หายใจได้โล่งขึ้น
- สำหรับเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป ควรดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
- ควรเช็ดทำความสะอาดบ้านและเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ด้วยผ้าชุบน้ำบิดหมาด ๆ เป็นประจำ เพื่อลดการสะสมของฝุ่นละอองขนาดเล็กภายในบ้าน
- การปลูกต้นไม้ใหญ้ไว้รอบบ้าน และวางกระถางต้นไม้ฟอกอากาศ เช่น ลิ้นมังกร เฟิร์น พลูด่าง ว่านหางจระเข้ ไว้ภายในบ้าน ช่วยกรองสารพิษ-ฝุ่นละอองขนาดเล็ก และฟอกอากาศให้สดชื่นได้
- หากพบว่าลูกมีอาการแน่นหน้าอก หายใจลำบาก หรือมีผื่นคันขึ้นตามร่างกาย ให้รีบพาไปพบคุณหมอทันที
ฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหาที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ดังนั้นพ่อแม่ต้องสังเกตอาการ ปกป้องลูกให้ห่างไกลจากฝุ่นพิษชนิดนี้ให้มากที่สุด และหมั่นเข้าตรวจเช็คสุขภาพกับแพทย์อยู่เสมอ และเสริมการป้องกันอยากให้ลูกรักมีสุขภาพดีและชีวิตที่ดี วางแผนได้ตั้งแต่วัยเริ่มต้นของชีวิต กับประกันเด็ก Max Kids Protect+ จาก KWI Life Insurance จ่ายเบี้ยเบา เริ่มต้นเพียง 28 บาท/วัน คุ้มครองลูกรักอย่างครอบคลุม ทั้งชีวิตและสุขภาพ
สนใจดูรายละเอียด Max Kids Protect Plus+ คลิก : https://www.kwilife.com/max-kids-protect-plus
สอบถามข้อมูลประกันเพิ่มเติมโทร : 02-033-9000 (จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 – 19.00 น.)
“ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียด ความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำ ประกันภัยทุกครั้ง”