สำหรับสถานการณ์โควิด 19 ในประเทศไทย เริ่มพบการติดเชื้อในเด็กเพิ่มมากขึ้น โดยส่วนใหญ่เด็กติดโควิด 19 มาจากผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิด โดยเฉพาะคนในครอบครัว หากลูกได้รับเชื้อจะมีอาการแตกต่างจากผู้ใหญ่อย่างไร และต้องมีวิธีปฎิบัติตัวอย่างไรถึงจะปลอดภัยกับตัวเด็กและผู้ปกครอง
ที่มาของข้อมูล : thebangkokinsight.com , vichaivej-omnoi.com ,sikarin.com
วิธีสังเกตอาการเด็กที่มีความเสี่ยงว่าจะติดโควิด 19
-มีไข้หลายวัน อาจจะไข้สูงหรือไข้ต่ำก็ได้
-ไอแห้ง
-อ่อนเพลีย
-เจ็บคอ
-อาจมีหรือไม่มีน้ำมูกก็ได้ คัดจมูก
-บางรายอาจมีผื่นแดง จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส
-อาจพบอาการปวดเมื่อยตัว
-เบื่ออาหาร หรือในเด็กทารกอาจจะกินนมได้น้อยลง
-อาจมีอาการท้องเสีย ปวดท้อง ซึ่งพบได้เล็กน้อย
ในเด็กส่วนใหญ่กว่า 90% ที่ติดโควิด19 จะมีอาการไม่รุนแรง แต่กลุ่มที่ต้องระวังเป็นพิเศษ คือ เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี และเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอด หรือภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เพราะเด็กกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะป่วยหนัก ปอดอักเสบ ระบบหายใจล้มเหลว และอาจเสียชีวิต ถ้าเป็นไปได้ผู้ใหญ่ควรงดสัมผัสหรือหอมแก้มเด็กเล็กโดยไม่จำเป็น
กรณีต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล
-ควรแยกเด็กเล็กออกจากผู้ปกครอง
-กรณีหากเด็กเป็นผู้ติดเชื้อแต่ผู้ปกครองไม่ติดเชื้อ ให้เด็กเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลโดยมีผู้ดูแลที่ไม่มีโรคประจำตัว และอายุไม่เกิน 60 ปี เข้าดูแลเด็กด้วย หากเป็นโรงพยาบาลสนาม ควรจัดพื้นที่ให้เด็กและผู้ปกครองเป็นการเฉพาะโดยแยกผู้ติดเชื้ออื่นๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่จะสัมผัสเชื้อโรค
กรณีเฝ้าสังเกตอาการที่บ้าน (Home Isolation)
อุปกรณ์ที่ใช้ติดตามอาการและบรรเทาอาการเด็กที่บ้าน ได้แก่
-ปรอทวัดไข้
-เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
-อุปกรณ์ที่สามารถใช้ถ่ายภาพ หรือบันทึกอาการของเด็กได้
-ยาสามัญประจำบ้านเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยาลดไข้ (พาราเซตามอล) ยาแก้ไอ ยาลดน้ำมูก เกลือแร่
สังเกตอาการโดยรวมอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง โดยแบ่งอาการของเด็ก ออกเป็น 2 ระดับ
-ระดับที่ 1 คือ อาการที่ยังสามารถสังเกตอาการของเด็กที่บ้านต่อไปได้ ได้แก่ มีไข้ต่ำ มีน้ำมูก ไอเล็กน้อย ไม่มีอาการหอบเหนื่อย ถ่ายเหลว ยังคงกินอาหารหรือนมได้ตามปกติ ไม่ซึม
-ระดับที่ 2 คือ ระดับที่ผู้ปกครองควรติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อนำเด็กไปส่งโรงพยาบาล คือ ไข้สูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส หายใจหอบเร็วกว่าปกติ ใช้แรงในการหายใจมาก อกบุ๋ม ปีกจมูกบานตอนหายใจ ปากเขียว ระดับออกซิเจนปลายนิ้วน้อยกว่า 95% ซึมลง งอแง ไม่ดูดนม ไม่กินอาหาร
-ผู้ป่วยเด็กติดเชื้อส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 90 มีอาการไม่รุนแรง มักพบอาการเพียงเล็กน้อย เช่น ไข้ ไอ ปวดกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยเด็กเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่มีอาการรุนแรงหรือวิกฤติ เช่น ปอดอักเสบรุนแรง ระบบหายใจหรือระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว รวมถึงภาวะอักเสบหลายระบบในเด็ก
-ภาวะแทรกซ้อนพบได้น้อย มักพบในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 1 ปี ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต โรคปอดเรื้อรัง หรือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
-เชื้ออาจลงปอด ทำให้เกิดอาการรุนแรง ถึงเสียชีวิต
-มีผลกระทบในด้านจิตใจ และพัฒนาการ เนื่องจากต้องได้รับการกักตัว กักบริเวณ หรืออยู่ในพื้นที่แคบ ในระยะเวลานาน
-เด็กที่หายป่วยจากโควิด 19 อาจเกิดภาวะ MIS-C คล้ายโรคคาวาซากิ แต่รุนแรงกว่าจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
ในปัจจุบันการซื้อประกันสุขภาพให้ลูกนั้น นับว่าเป็นเรื่องจำเป็นระดับหนึ่งสำหรับทุกครอบครัวเลย เพราะเด็กๆ ภูมิต้านทานน้อยเสี่ยงโรคภัยมากมาย ถ้าหากป่วยหนักขึ้นมา ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายต่างคงแพงมาก หากมีประกันสุขภาพให้ลูก ก็สามารถช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินไปได้เยอะมาก หากคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังมองหาประกันดีๆ สักฉบับ คิง ไว Max Kids เป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์ ที่ให้ความคุ้มครองทางด้านสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุบัติเหตุหรือโรคร้ายอย่างโควิด 19 ด้วยระยะออมสั้นเพียง 8 ปี แต่คุ้มครองชีวิตยาวนานถึง 18 ปี พร้อมเงินคืนต่อเนื่องทุกปีรวมสูงสุดกว่า 180%