หลายๆ คนคงเคยสงสัยกันว่า ระหว่าง สิทธิบัตรทอง กับ สิทธิประกันสังคม แตกต่างกันอย่างไร สิทธิประโยชน์ไหนดีกว่ากันในเรื่องของการรักษาพยาบาล วันนี้ เคดับบลิวไอ ประกันชีวิต มีคำตอบมาฝากให้คุณได้หายสงสัยกันว่า สิทธิเข้ารับการรักษาพยาบาลแต่ละตัวเป็นยังไง ครอบคลุม และ เพียงพอต่อความต้องการไหม? หรือ จำเป็นต้องซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเติมอีกหรือเปล่า มาดูกันเลย
ที่มาของข้อมูล : moneybuffalo.in.th
บัตรทอง คือ ประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือที่หลายๆ คนเรียกว่า บัตร 30 บาท รักษาทุกโรค ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติออกให้แก่ประชาชนผู้มีสิทธิ คือ บุคคลที่มีสัญชาติไทย มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก ที่ไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นใดที่รัฐจัดให้ และต้องเป็นผู้ที่ไม่มีสิทธิประกันสังคม หรือผู้ที่ลาออกและเกษียณจากประกันสังคมแล้วเท่านั้นถึงสามารถใช้สิทธินี้ได้
ประกันสังคม คือ การสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตในกลุ่มของสมาชิกที่มีรายได้ และจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพื่อรับผิดชอบเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงาน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาล และมีการทดแทนรายได้อย่างต่อเนื่อง โดยลูกจ้างและนายจ้างต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฎหมาย โดยจะทำการหักเงินจากฐานเงินเดือน 5% สูงสุดไม่เกิน 750 บาท/เดือน
บัตรทอง กับ ประกันสังคม ต่างกันอย่างไร
สิทธิบัตรทองสามารถมีได้ทุกคน หากไม่มีสวัสดิการอื่นของรัฐ ส่วนพนักงานบริษัทจะได้สิทธิประกันสังคมโดยอัตโนมัติ แต่หากมีประกันสังคมแล้วจะไม่สามารถใช้สิทธิบัตรทองได้ กรณีที่ลาออกจากงาน และไม่อยากส่งประกันสังคมต่อ (ประกันสังคม มาตรา 39) สามารถกลับมาใช้สิทธิบัตรทองได้ แต่ต้องลงทะเบียนใช้สิทธิก่อน
สิทธิบัตรทอง
- ไม่มีค่าใช้จ่าย ลงทะเบียนหน่วยงานหรือสถานพยาบาลประจำเเล้วใช้สิทธิได้ทันที
- ใช้กับสถานพยาบาลประจำที่ลงทะเบียนไว้
- เจ็บป่วยต่างพื้นที่เข้าสถานพยาบาลปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ เจ็บป่วยฉุกเฉินเข้าสถานพยาบาลรัฐเเละเอกชนที่อยู่ใกล้
- การย้ายสิทธิสถานพยาบาลทำได้ 4 ครั้งต่อปี
- ใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้งและไม่มีวงเงิน
- ค่าอาหารเเละค่าห้องสามัญ
- ได้เพียงสิทธิรักษาฟรี ไม่มีเงินชดเชยว่างงานเหมือนประกันสังคม
ประกันสังคม
- ต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนทุกเดือน ตามเงื่อนไขถึงจะสามารถใช้สิทธิได้
- ใช้ได้กับโรงพยาบาลที่เลือกสิทธิไว้ กรณีฉุกเฉินเข้าที่ไหนก็ได้โดยไม่ต้องสำรองจ่าย
- การย้ายสิทธิสถานพยาบาล ย้ายได้ปีละครั้ง ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ไม่เกิน 900 บาทต่อปี - ค่าห้องเเละค่าอาหาร ไม่เกิน 700 ต่อวัน
- ได้รับชดเชย กรณีว่างงาน เกษียณ เสียชีวิต
- ตรวจสอบสิทธิประกันสังคมได้ที่ https://www.sso.go.th/wpr/
มีประกันสังคม ใช้สิทธิบัตรทองได้ไหม ?
ถ้ามีสิทธิประกันสังคม จะไม่สามารถใช้สิทธิสิทธิบัตรทองได้ โดยจะสามารถกลับมาใช้สิทธิบัตรทองได้ก็ต่อเมื่อลาออกจากสิทธิประกันสังคมอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป พร้อมลงทะเบียนใช้สิทธิ (ในหนึ่งคนสามารถมีสิทธิในการรักษาพยาบาลได้แค่ 1 สิทธิ ไม่สามารถมี 2 สิทธิพร้อมกันได้)
เปลี่ยน สิทธิประกันสังคม เป็นบัตรทอง ทำได้หรือไม่ ?
การย้ายสิทธิประกันสังคมเป็นสิทธิบัตรทองไม่สามารถทำได้โดยทันที การจะเปลี่ยนสิทธิประกันสังคมเป็นบัตรทองนั้น ผู้ประกันตนกับประกันสังคมต้องออกจากการเป็นผู้ประกันตนไม่ว่ามาตราใดก็ตามอย่างน้อย 6 เดือน เพราะเมื่อลาออกแล้วทางประกันสังคมจะคุ้มครองต่ออีก 6 เดือน หลังจากครบ 6 เดือนแล้ว จึงจะสามารถยื่นขอลงทะเบียนใช้สิทธิบัตรทองได้
สิทธิบัตรทองนั้นคนไทยทุกคนมีสิทธิเข้าถึงได้อยู่แล้วตั้งแต่เกิด ส่วนประกันสังคมพนักงานบริษัทจะต้องส่งเงินสมทบเข้ากองทุนทุกเดือนอยู่แล้วเช่นกัน แม้จะได้สิทธิการรักษาหลายอย่าง แต่ก็มีข้อจำกัดต้องเข้าใช้บริการได้แค่โรงพยาบาลที่ได้ลงทะเบียนหรือเลือกรับสิทธิไว้เท่านั้น ส่วนประกันสุขภาพที่ซื้อเพิ่มเติม ย่อมเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่ครอบคลุมมากกว่าและข้อจำกัดที่น้อยกว่า แถมยังคุ้มครองยาวนานกว่าเมื่อครบสัญญา
หากไตร่ตรองดูแล้วพบว่าสิทธิประกันสังคมนั้น ตอบโจทย์ด้านการรักษาพยาบาลได้ไม่มากเท่าที่ควร ขอแนะนำประกันสุขภาพเหมาจ่าย Healthy Max จากเคดับบลิวไอ ประกันชีวิต ที่มอบความคุ้มครองสุขภาพแบบเหมาจ่าย สูงสุดถึง 3 ล้านบาทต่อปีกรมธรรม์ พร้อมค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการในโรงพยาบาลสูงสุดถึง 6,000 บาทต่อวัน กำหนดความคุ้มครองได้ตามแบบที่ต้องการ ด้วยเบี้ยประกันไม่กี่บาทต่อเดือน ก็ได้รับทั้งความคุ้มครองชีวิตและสุขภาพที่คุ้มค่าคุ้มราคา
สนใจดูรายละเอียด ประกันสุขภาพเหมาจ่าย Healthy Max คลิก : https://www.kwilife.com/health
สอบถามข้อมูลประกันเพิ่มเติมโทร : 02-033-9000 (จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 – 19.00 น.)
“ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียด ความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำ ประกันภัยทุกครั้ง”