โลกในทุกวันนี้ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดดไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นเด็กในยุคสมัยใหม่ที่เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยี เด็กในยุคนี้มีแนวโน้มที่จะเสพติดเทคโนโลยี จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ร่างกาย และจิตใจ หรือส่งผลให้เกิดโรคได้
ที่มาของข้อมูล : สสส.
เด็กรุ่นใหม่เสพติดเทคโนโลยีวันละหลายชั่วโมงหรือแทบทั้งวัน และหลงผิดได้ง่ายกับการให้ความสำคัญต่อตัวตนในโลกออนไลน์ รวมถึงการเล่นเกมของเด็กยุคนี้ก็สูงขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็กทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
พฤติกรรมและนิสัยเด็ก Gen Z ที่ต้องระวัง
- ติดอุปกรณ์เทคโนโลยีเช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์
- เสพติดสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์กและเกมออนไลน์
- โลกส่วนตัวสูง
- ความฉลาดทางอารมณ์ลดลง เช่น ใจร้อน รอไม่ได้
- ตามกระแส แฟชั่น
สาเหตุของโรคนี้นอกจากจะเกิดจากพันธุกรรม พฤติกรรมก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เด็กเป็นโรคสมาธิสั้นได้ เช่น การเล่นเกม ดูทีวีหรือเล่นมือถือเป็นเวลานานๆ หลายชั่วโมง มองผิวเผินอาจดูเหมือนเด็กจะมีสมาธิดีแต่ความจริงแล้วเป็นสิ่งเร้าที่ทำให้เด็กจดจ่อ รู้สึกสนุก เมื่อต้องเรียนหนังสือทำให้รู้สึกเบื่อ ขาดสมาธิที่จะสนใจ
อาการของเด็กสมาธิสั้น
- ทำงานไม่เสร็จ ว่อกแว่กง่าย
- สะเพร่า ขี้ลืม
- ทำอะไรนานๆ ไม่ได้เปลี่ยนกิจกรรมบ่อย
- อยู่ไม่สุข ขยับตัวตลอดเวลา หรือพูดไม่หยุด
- หุนหันพลันแล่น
- อดทนรออะไรนานๆ ไม่ได้
เด็กยุคใหม่เป็นออทิสติกเทียมกันมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่มักใช้โทรศัพท์ แท็บเล็ต ทีวี เป็นเครื่องมือในการเลี้ยงดู ทำให้เด็กบางคนอาจมีพัฒนาการล่าช้าด้านการสื่อสาร ภาษา และการเข้าสังคม ที่มีลักษณะอาการคล้ายออทิสติก แต่ไม่ใช่โรค
ลักษณะภาวะออทิสติกเทียม
- ไม่มองหน้าหรือพูดคุยกับผู้อื่น
- เก็บตัว
- พูดช้ากว่าวัย
- ก้าวร้าว
เด็ก Gen Z มีภาวะอ้วนง่าย กิจกรรมยามว่างที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหว ต่างจากเด็กสมัยก่อนที่ยามว่างจะออกไปเล่นกับเพื่อน เช่น กระโดดเชือก วิ่งไล่จับ เล่นกีฬา ประกอบกับเด็กยุคใหม่เข้าถึงอาหารฟาสต์ฟู้ดและน้ำอัดลมได้ง่าย รวมถึงสั่งอาหารออนไลน์ได้ จึงเสี่ยงต่อภาวะอ้วนได้ง่าย
พฤติกรรมเด็กที่ทำให้เกิดโรคอ้วน
- นั่งหรือนอนเล่นสมาร์ตโฟน
- ชอบกินของหวาน
- นั่งหรือนอนนิ่งๆ เป็นเวลานาน
- กินฟาสต์ฟู้ด
- ไม่ออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน หรือออกกำลังกาย
โรคไมเกรนไม่ได้เกิดแต่กับผู้ใหญ่ เด็กก็เป็นโรคนี้ได้ โดยเกิดจากสารเคมีเซโรโทนินที่ทำหน้าที่ควบคุมการหดขยายของหลอดเลือดในสมองทำงานผิดปกติอีกทั้งยังเกิดจากกรรมพันธุ์แต่ทั้งนี้ปัจจัยภายนอกก็เป็นตัวกระตุ้นการขยายตัวของหลอดเลือดในสมองที่มากเกินไปได้โดยเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการกินอาหารของเด็กยุคนี้
พฤติกรรมกระตุ้นไมเกรน
- จ้องแสงสีฟ้าจากคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานๆ
- การอดนอน หรือนอนดึก
- ความเครียด
- กินอาหารจำพวกแปรรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปเป็นประจำ
- กินอาหารติดมัน
และนี่เป็นเพียงโรคที่พบได้ของเด็กยุคดิจิทัล เพียงแค่ทุกคนเข้าใจ สังเกตคนใกล้ชิด ปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมในแต่ละวัย ฝึกให้ลูกสนใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัวให้มากขึ้น เพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี มีคุณภาพ และป้องกันการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้น ด้วย ประกันสุขภาพเหมาจ่าย Max Junior Protect Ultra ที่เน้นความคุ้มครอง ให้มากกว่าด้วยความคุ้มครองสุขภาพแบบเหมาจ่ายที่ครอบคลุม ได้ทั้งความคุ้มครองชีวิตและสุขภาพในราคาเบาๆ
สนใจดูรายละเอียด Max Junior Protect Ultra : https://www.kwilife.com/max-junior-protect-ultra
สอบถามข้อมูลประกันเพิ่มเติมโทร : 02-033-9000 (จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 – 19.00 น.)
“ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียด ความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำ ประกันภัยทุกครั้ง”