เผลอแปปเดียวก็ใกล้จะสิ้นปีแล้ว หน้าที่ของคนไทยที่มีรายได้จะต้องเตรียมตัวยื่นภาษี
และสำหรับใครที่เป็นมือใหม่ควรทำความเข้าใจ และเตรียมวางแผนจัดการภาษีตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนจะหมดปี จะทำให้มีเวลาเตรียมการ หาตัวช่วยมาลดหย่อนได้ทันรอบปีภาษีนั้นๆ
ที่มาข้อมูล : madamprakan.com ,muangthai.co.th
มีรายได้ก็เท่ากับต้องยื่นภาษี
มีรายได้เท่ากับต้องเสียภาษี โดยส่วนใหญ่ผู้ที่มีรายได้จะเป็นผู้ที่มีเงินเดือนประจำไม่ว่าจะเป็น พนักงานออฟฟิศ หรือลูกจ้าง ซึ่งจะถูกหักภาษีจากบริษัทไว้อยู่แล้ว หากคุณมีรายได้จากช่องทางอื่นๆ เข้ามาเสริม ไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างฟรีแลนซ์ ขายของออนไลน์ หรือทำธุรกิจเสริมที่มีรายได้ ต้องนำมาคำนวณภาษีด้วย เพราะการมีรายได้เท่ากับต้องเสียภาษี
Tips : ถ้าบุคคลที่มีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท (หรือมีเงินเดือนไม่เกิน 26,583.33 บาท) ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี ส่วนใครที่คำนวณดูแล้วเข้าข่ายต้องเสียภาษีก็ต้องทำการยื่นภาษี
ขายของออนไลน์ก็ต้องเสียภาษี
ธุรกิจขายของออนไลน์ค่อนข้างได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน จนผู้ขายหลายคนไม่ได้นึกถึง และอยู่ในเงื่อนไขของการเสียภาษีเช่นกัน คุณจะถูกตรวจสอบบัญชี หากมียอดฝากหรือโอนเงินเข้า ตั้งแต่ 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป ไม่ว่าจะรับครั้งละกี่บาทก็ตาม ฝากหรือโอนเงินเข้าทุกบัญชีตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปีขึ้นไป และมียอดเงินรวมกันตั้งแต่ 2,000,000 บาทต่อปีขึ้นไป ซึ่งต้องเข้าเงื่อนไขทั้งจำนวนครั้ง และจำนวนมูลค่าของเงินที่รับฝากหรือโอนถึงจะถูกตรวจสอบได้
Tips: แม่ค้าออนไลน์ควรทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เป็นหลักฐานเก็บไว้ไม่ต่ำกว่า 5 ปี หรือควรจดทะเบียนการทำธุรกิจให้ถูกต้องอย่างละเอียด เพราะหากตรวจสอบแล้วพบความผิดปกติ ก็อาจจะมีโอกาสเสียภาษีเพิ่มพร้อมถูกปรับเพิ่มด้วย
ประกันกับการวางแผนภาษี
การซื้อประกันก็เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจในการลดหย่อนภาษี เพราะนอกจากจะคุ้มครองแล้วยังสามารถออมเพื่ออนาคตไปพร้อมๆ กัน โดยนำเบี้ยประกันที่ได้ซื้อไว้มาคำนวณเพื่อจัดการภาษีปลายปี สำหรับประกันที่สามารถนำมาใช้สิทธิหักลดหย่อนภาษีได้ ได้แก่ ประกันชีวิต ประกันบำนาญ ประกันสุขภาพ ประกันเพื่อบิดามารดา ส่วนค่าเบี้ยประกันรวมที่สามารถนำมาใช้สิทธิทางภาษีได้นั้น ต้องขึ้นอยู่กับรูปแบบของประกันที่ได้ทำว่าสามารถนำมาใช้สิทธิได้ไม่เกินกี่บาทต่อปี ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร
Tips : การซื้อประกันเพื่อความคุ้มครองชีวิตหรือการออมสำหรับวางแผนภาษี แนะนำว่าให้ควรซื้อตั้งแต่เนิ่นๆ อย่างช้าสุดกลางเดือนธันวาคม เพราะประกันบางประเภทจะต้องใช้เวลาในการตรวจสอบและอนุมัติ ส่วนบางประเภทก็สามารถทำได้เลย ดังนั้นควรเผื่อเวลาในการทำจะเป็นประโยชน์ที่สุดสำหรับคุณในการจัดการภาษี
การขอคืนภาษี
หากถูกเราหักภาษี ณ ที่จ่ายระหว่างปี มากกว่ามูลค่าภาษีที่ตัวเองมีหน้าที่ต้องจ่ายจริง จากการคำนวณภาษี หลังจากยื่นเงินภาษีไป สรรพากรจะพิจารณาตามเงื่อนไข หากผ่านการพิจารณา ก็จะได้สิทธิ์รับเงินคืนภาษีบางส่วนที่จ่ายเกินไปกลับคืนมา
โดยมีขั้นตอนดังนี้
1.ตรวจสอบสิทธิ ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร https://www.rd.go.th/272.html
2.กรอกข้อมูลเพื่อเช็คสถานะการสอบถามข้อมูลของเงินคืนภาษี
3.หากผ่านการพิจารณา กรมสรรพากรจะอนุมัติเงินคืนภาษี ซึ่งเราสามารถเลือกช่องทางการรับเงินคืนได้ผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่
-ผ่านพร้อมเพย์ที่ผูกกับบัญชีธนาคารออนไลน์
-รับเงินคืนภาษีเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย หรือ ธ.ก.ส.
-รับเงินคืนภาษีเข้าบัตร e-Money หรือ e-Wallet (แอปฯ เป๋าตัง) เฉพาะธนาคารกรุงไทย
เอกสารที่ต้องเตรียมพร้อมก่อนยื่นภาษี
รูปแบบการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา มี 2 แบบ คือ ภ.ง.ด.90 (สำหรับผู้มีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือน) และ ภ.ง.ด.91 (สำหรับผู้มีรายได้เป็นเงินเดือนโดยไม่มีรายได้เสริมอื่น) โดยจะต้องเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนดังนี้
- หนังสือรับรองภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ)
- รายการลดหย่อนภาษีที่รวบรวมทั้งปี เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดูบิดามารดา
- เอกสารประกอบการลดหย่อนภาษี เพื่อกรอกแบบฟอร์มการยื่นจ่ายภาษี
ทางเลือกที่ดีของการออมและลดหย่อนภาษี
พอจะทราบข้อมูลเบื้องต้นของการวางแผนภาษีอย่างถูกต้องแล้ว ผู้มีรายได้ที่จะต้องยื่นภาษีก็อย่าลืมนำไปปรับใช้กันตั้งแต่เนิ่นๆ จะได้ไม่ต้องมานั่งปวดหัวกันในต้นปี จัดการภาษีของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงได้รับผลประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีตามกฎหมายได้อย่างคุ้มค่าและครบถ้วน อย่าลืมเตรียมเอกสารและหลักฐานการลดหย่อนภาษีให้ครบถ้วน จะเห็นได้ว่าการมีประกันออมทรัพย์ก็เป็นวิธีที่ช่วยประหยัดภาษีได้ ออมคุ้มคุ้ม ออมก็ง่าย คืนก็คุ้ม การันตีด้วยผลตอบแทนรวมสูงถึง 555% ของทุนประกัน ออมสั้น 5 ปี คุ้มครองยาว 10 ปี พร้อมช่วยลดหย่อนภาษีสูงสุดถึง 100,000 บาท ทุกปีที่ชำระเบี้ย
สนใจดูรายละเอียด ออมคุ้มคุ้ม 10/5 คลิก : https://www.kwilife.com/endowment
สอบถามข้อมูลประกันเพิ่มเติมโทร : 02-033-9000 (จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 – 19.00 น.)
หมายเหตุ :
-ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียด ความคุ้มครอง เงื่อนไข ข้อยกเว้นและความเสี่ยงก่อนการตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง โปรดศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในกรมธรรม์
-เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด
-การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบมจ. เคดับบลิวไอ ประกันชีวิต กำหนด
-ออมคุ้มคุ้ม เป็นชื่อทางการตลาดของแบบประกันภัยสะสมทรัพย์ 10/5
* % ของจำนวนเงินเอาประกันภัย (ทุนประกัน) ณ วันเริ่มมีผลคุ้มครองตามกรมธรรม์