TH
TH EN
x

7 ขั้นตอน วางแผนภาษี สำหรับมนุษย์เงินเดือน



7 ขั้นตอน วางแผนภาษี สำหรับมนุษย์เงินเดือน

1.คำนวณหาเงินได้พึงประเมินทั้งปี

เงินได้พึงประเมิน คือ เงินเดือนหรือรายได้ทั้งปี โดยรายได้รวมทั้งปีของมนุษย์เงินเดือน ประกอบด้วยรายได้หลัก 4 ประเภท คือ

1.1. เงินเดือนประจำ (รวมทั้งปี)

1.2. เงินโบนัส

1.3. ค่าล่วงเวลาหรือ OT (ถ้ามี)

1.4. เงินพิเศษอื่นๆ เช่น ภาษีที่นายจ้างออกให้ หรือมีที่พักฟรี


2. ผู้มีเงินได้พึงประเมินรวมทั้งปีไม่เกิน 310,000 บาทต่อปี ไม่ต้องเสียภาษี

มนุษย์เงินเดือนที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ “ผู้มีเงินได้พึงประเมินรวมทั้งปี เกินกว่า 310,000 บาทต่อปี”

การคำนวณเงินได้สุทธิ สรุปได้ดังนี้

รายการที่ 1 : ผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (1) หักค่าใช้จ่ายได้ 50% สูงสุด 100,000 บาท

รายการที่ 2 : ผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (1) หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท

รายการที่ 3 : ยกเว้นภาษี ผู้มีเงินได้ตามมาตรา 40 (1) เงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก


3.หาค่าลดหย่อนให้มากที่สุด

โดยตัวอย่างค่าลดหย่อน มีดังนี้

3.1. ค่าลดหย่อนเงินสมทบประกันสังคม

3.2. ค่าลดหย่อนกรณีสมรส

3.3. ค่าลดหย่อนบุตร

3.4. ค่าฝากครรภ์และทำคลอด

3.5. เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง

3.6. มีบิดามาดราที่ต้องอุปการะเลี้ยงดู

3.7. มีภาระที่ต้องเลี้ยงดูผู้พิการ

3.8. มีค่าเบี้ยประกันสุขภาพของบิดามาดรา


4.วางแผนการออมและการลงทุนเพื่อการลดหย่อนภาษี

โดยมีทั้งหมด 5 เรื่องดังนี้

4.1. เรื่องการซื้อประกันชีวิต

4.2. เรื่องดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย

4.3. เรื่องการซื้อกองทุนเพื่อการออม SSF

4.4. เรื่องการซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF

4.5. เรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ


5.ศึกษาสิทธิหักค่าลดหย่อนภาษีกรณีพิเศษจากภาครัฐ

การลดหย่อนกรณีพิเศษมักมีโอกาสเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก ซึ่งหากมีเหตุการณ์สำคัญต่างๆเกิดขึ้น กรมสรรพากรจะเข้ามาจัดรายการพิเศษ เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน โดยการลดหย่อนภาษีให้หรือขยายระยะเวลาการยื่นแบบภาษี มักมีเงื่อนไขที่จะต้องศึกษาเพิ่มเติมและมีการกำหนดระยะเวลาในการลดหย่อนภาษี เช่น 1-2 ปี เป็นต้น


6.ลดหย่อนด้วยเงินบริจาคกรณีต่างๆ

การทำบุญนอกจากจะได้บุญกุศลแล้ว ใบอนุโมทนาหรือใบเสร็จเงินบริจาค ยังสามารถนำมาช่วยให้ผู้มีเงินได้จ่ายภาษีน้อยลงอีกด้วย

โดยกรมสรรพากรได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการบริจาคต่างๆ ไว้ชัดเจน และมีการกำหนดเพดานสูงสุดในการบริจาค หากบริจาคเกินกว่าเพดานที่สรรพากรกำหนด ส่วนเกินนั้นไม่สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ ซึ่งจะต้องศึกษาเงื่อนไขรายละเอียด


7.นำเงินได้สุทธิมาประเมิน เพื่อเสียภาษีตามตารางภาษีของกรมสรรพากร

สูตรในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อนและการบริจาค

หลังจากคำนวณ เงินได้สุทธิแล้ว ให้นำ เงินได้สุทธิมาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเทียบจากตารางภาษีที่กรมสรรพากรกำหนด

จากนั้น ให้นำ : เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี = เงินภาษีที่ต้องจ่าย

KWI Life ใช้คุกกี้เพื่อให้คุณได้รับประสบการณ์ที่ดี หากคุณยังคงใช้งานบนเว็บไซต์ เราถือว่าคุณยอมรับ ข้อกำหนดและเงื่อนไข ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่